เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ภูเก็ต, Thailand
โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ห้อง 532 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


กลอนวันครู

อันครูบาอาจารย์ที่สอนศิษย์


ให้มีจิตคิดดีมีแก่นสาร

รู้จักแก้ปัญหาเมื่อพบพาน

รู้จักการใช้ชีวิตให้สมบูรณ์

ทุกคำสั่งคำสอนที่ครูชี้

ทุกสิ่งนี้คุณค่ามีมิเปล่าสูญ

จงจำไว้ศิษย์มีครูคอยเกื้อกูล

ทดแทนคุณด้วยการเป็นคนดี


โดย...นางสาววลัยพร ทองแท่ง
กลอนวันครู

แม้งานหนักเหน็ดเหนื่อยไม่เคยบ่น

สู้อดทนส่งเสริมศิษย์พิชิตฝัน

สู้อุตส่าห์สั่งสอนศิษย์ทุกวี่วัน
จิตมุ่งมั่นอบรมจริยา

หวังเห็นศิษย์ก้าวไกลในชีวิต
โดยอุทิศแรงกายให้สมค่า

คำว่าครูผู้ให้ซึ่งปัญญา
แก้ปัญหานานาประการเอย


โดย...นางสาว รัชชประภา ยุคุณธร



ชั้นวางรองเท้า


สมัยตอนที่ฉันยังเด็ก รองเท้าของฉันมักจะหายอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากการเก็บรองเท้าไม่เป็นที่จึงทำให้ฉันจำไม่ได้ว่ารองเท้าวางอยู่ตรงไหน ไม่เฉพาัะแต่รองเท้าเท่านั้น ของใช้ส่วนตัวก็มักจะลืมที่อยู่เป็นประจำจนติดเป็นนิสัย อยู่มาวันหนึ่ง แม่ได้สอนให้ฉันเก็บของให้เป็นระเบียบ เพื่อง่ายต่อการหยิบจับ และไม่ต้องใช้เวลาในการหาของนาน ซึ่งตรงกับทฤษฏีของเฟรดเดอริค เทเลอร์ ทำให้ฉันไม่ต้องเสียเวลาในการหาของ สามารถจดจำได้ว่าของแต่ละชิ้นวางอยู่ตรงไหน
และที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินไปซื้อร้องเท้าใหม่อีกด้วย


โดย...นางสาว รัชชประภา ยุคุณธร
กลอนวันครู

พระคุณครูมีความหมายอันลึกซึ้ง

ควรคนึงตราตรึงในดวงจิต
เพราะครูคือผู้ชี้นำทางความคิด
สอนให้ศิษย์เป็นบัณฑิตรู้การงาน
ครูนั้นเปรียบเหมือนแม่คนที่สอง
ฝึกสมองสอนสั่งอุดมการณ์
มีพื้นฐานความรู้จนชำนาญ
ประทานพรให้ครูสุขนิรันดร์เอย


โดย...นางสาวสุนิษา สองหลง
ร้านค้าริมทาง

มีคนว่าไว้อย่างคมคายว่า การได้ทำสิ่งที่รักนั้นคืออิสระ ส่วนการรักสี่งที่ทำนั้นคือความสุข น้าสาวของฉันเป็นคนรักอาชีพอิสระ โดยได้เปิดร้านขายอาหาร แต่กลับรู้สึกว่ากระบวนการในร้านนั้นดูวุ่นวาย ไม่มีระเบียบ ทำงานชักช้าจนทำให้ลูกค้าต้องรอนาน น้าสาวของฉันจึงนำหลักการของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ มาปรับใช้ภายในร้านโดยนำหลักการความเคยชิน (rule of thumb) มาประยุกต์ใช้ ทำให้หยิบจับอุปกรณ์ และเครื่องมือภายในร้านได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากนั้นการทำงานก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นกัน



โดย...นางสาวสุนิษา สองหลง
กลอนวันครู

พระคุณครูเลิศล้ำเหลือกำหนด
ขาวหมดจดผุดผ่องสง่าศรี

เป็นทั้งแม่และพ่อช่วยปรานี
ทั้งครูนี้ที่คอยช่วยขัดเกลา

บุญคุณครูมีค่ากว่าที่คิด
ควรพินิจคิดไตร่ตรองเสน่ห์หา

ช่วยสั่งสอนให้เรียนแต่ไรมา
รู้เถิดหนาบุญคุณท่านมีค่าเอย



โดย...นางสาวปรีดา นาคแท้
ร้านค้าขายรองเท้า

มีร้านขายรองเท้าอยู่ร้านหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่เปิดมาตั้งแต่สมัยปู่ย่า เป็นร้านที่ไม่ค่อยมีระเบียบต่อการเลือกซื้อมากนัก จะหารองเท้าแต่ละเบอร์ต้องใช้เวลานาน ต่อมาลูกชายของเขาคิดหาวิธีการที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้า จึงไปค้นคว้าข้อมูลจนพบแนวความคิดของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ เขาจึงศึกษาเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขร้าน เขาใช้แนวความคิดใหม่จัดรองเท้าตามสี ขนาด ยี่ห้อ จึงง่ายต่อการเลือกซื้อและไม่เสียเวลา ร้านของเขาจึงขายดีขึ้น ลูกค้าก็ชอบมาซื้อเพราะทั้งประหยัดเวลา และง่ายต่อการเลือกซื้อ



โดย...นางสาวปรีดา นาคแท้

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

น้ำแข็งใสทันใจ

จากการที่ได้เห็นร้านน้ำเเข็งใสร้านหนึ่งพบว่า ร้านน้ำแข็งใสร้านนี้ใช้เวลานานมาก กว่าจะทำน้ำเเข็งใสให้เสร็จเร็วทันใจของลูกค้า เพื่อที่จะไม่ให้ลูกค้าต้องรอนาน คนขายจึงได้คิดวิธีการที่จะทำให้ได้น้ำเเข็งใสเร็วทันใจ โดยการนำหลักการของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์เข้ามาใช้ โดยเจ้าของร้านได้จัดเรียงสิ่งของที่จะต้องใช้ใส่ในน้ำเเข็งให้เป็นระเบียบ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการตัก เเละหยิบจับ ประหยัดเวลา เเละประหยัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย (time and motion) ให้มากที่สุด ทำให้การขายน้ำเเข็งใสของเค้ามีประสิทธิภาพ เเละถูกใจลูกค้า (one best way) เมื่อเขาได้นำหลักการของเฟรดเดอริคเข้ามาใช้ จึงทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น


โดย...เฉลิมขวัญ แจ่มฟุ้ง

กลอนวันครู

ประดุจดั่งแม่พ่อก่อกำเนิด

น้ำใจเลิศเมตตามหาศาล
ผู้สอนสั่งทั้งจริยาวิชาการ
สร้างสืบสานคนมีธรรมนำสังคม
หวังเพียงให้เด็กน้อยค่อยเติบใหญ่
มีน้ำใจใฝ่สรรค์สร้างอย่างสั่งสม
ถ้วนทุกวันหมั่นขัดเกลาเฝ้าอบรม
เพียรเพราะบ่มสุดกำลังด้วยตั้งใจ


โดย...วรรษชล ทองทรง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ร้านขายเสื้อผ้า

จากการสำรวจร้านเสื้อผ้าทั่วไปพบว่าในร้านมีเสื้อผ้าข้าวของวางอยู่มากมาย กว่าจะหยิบจะจับเเต่ละชิ้นต้องเลือกเเล้วเลือกอีก กว่าจะหาตัวที่ใช่ก็เสียเวลาไปมาก ฉันจึงเอาเเนวคิด เเละทฤษฎีของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลสำเร็จเกินคาด คือช่วยประหยัดเวลาลงได้มาก (time and motion) จากเมื่อก่อนมีเสื้อผ้าวางอยู่มากมาย เเต่ตอนนี้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น จะหยิบตัวไหนก็ดูง่ายกว่าเดิม เเถมยังไม่ต้องเสียเวลาเหมือนเมื่อก่อนอีก

ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของร่างกายก็เหมือนกัน เรียกเป็นภาษาอังกฤษ ก็คือ one best way จากเมื่อก่อนเรามีการเคลื่อนไหวมาก เเต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องเเล้ว เพราะว่าฉันได้เอาเเนวคิดของเฟรดเดอริค มาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายลดน้อยลง เเละอีกอย่างหนึ่งการทำงานจะต้องถูกต้อง เเม่นยำ เเละมีประสิทธิภาพสูง


โดย...วรรษชล ทองทรง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา

ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

ความรู้ทางรัฐประศาสตร์สมัยใหม่ ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นก็เมื่อ
วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ได้เขียนบทความชื่อ "The Study of Administration" ในปี ค.ศ. 1887 บทความนี้เป็นบทความที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนารัฐประศาสตร์ แนวความคิดของวิลสัน (Wilson) สามารถนำมาสรุปได้ดังนี้

1. การบริหารควรถูกแยกออกจากการเมือง โดยเห็นว่า หน้าที่ของฝ่ายบริหาร ก็คือ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ส่วนหน้าที่ของฝ่ายการเมืองก็คือ การกำหนดนโยบายหรือหน้าที่ในการออกกฎหมาย

2. การสนับสนุนให้มีการปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคล โดยให้แยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมือง เพื่อป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง

3. การเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหาร ให้สามารถค้านอำนาจของฝ่ายการเมืองในการบริหารและปกครองประเทศ

บทความดังกล่าวข้างต้น มีอิทธิพลมากต่อแนวความคิดการแยกการบริหารออกจากการเมือง ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ มักถือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาแนวคิดด้านรัฐประศาสตร์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม แฟรงค์ กูดนาว (Frank Goodnow) เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ที่มีชื่อเสียง เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดการเมืองแยกออกจากการบริหาร โดยเขียนหนังสือชื่อ Politics and Administration ขึ้นในปี ค.ศ. 1900 ต่อมา เลียวนาร์ด ไวท์ (Leonard White) ได้เขียนหนังสือชื่อ Introduction to the Study of Public Administration ในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตำราเล่มแรกของวิชารัฐประศาสตร์ โดยไวท์ (White) ได้เสนอสมมติฐานหลัก 4 ประการ ซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษารัฐประศาสตร์ ดังนี้

1. การบริหารเป็นกระบวนการหนึ่งเดียว ที่สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระเบียบ ทั้งระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น

2. พื้นฐานของการศึกษามาจากการจัดการ ไม่ใช่กฎหมาย

3. การบริหารยังคงเป็นศิลปะ แต่แนวคิดในการเปลี่ยนไปสู่ศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และคุ้มค่าต่อการศึกษา

4. การบริหารได้เป็นและจะยังคงเป็นหัวใจของปัญหาของรัฐบาลสมัยใหม่ต่อไป

แนวคิดการแยกการบริหารออกจากการเมือง เป็นเหตุผลสำคัญให้มีการศึกษาหลักและเทคนิคการบริหาร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ซึ่งในช่วงระยะเวลาเดียวกันได้เกิดงานเขียน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์สำหรับการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก นักวิชาการที่สำคัญ ได้แก่
เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ (Frederic Taylor) เขียนบทความชื่อ "The Principles of Scientific Management" รวบรวมไว้ในหนังสือ Scientific Management ที่จัดพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1911 ได้พัฒนาวิธีการใหม่ของการจัดการในภาคโรงงานเอกชน แต่ก็ได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในภาครัฐ ต่อมา เฮนรี่ เฟโยล์ (Henri Fayol) ผู้จัดการโรงงานในฝรั่งเศสได้เผยแพร่หลักการบริหาร 14 ประการ โดยได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือ General and Industrial Management ในปี ค.ศ. 1942 คือ

1. หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งต้องอยู่คู่กันในลักษณะที่เหมาะสมและสมดุลกัน
2. หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เพื่อไม่ให้สับสนในการตัดสินใจ
3. หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีนโยบายที่ชัดเจน
4. หลักการธำรงไว้ซึ่งสายงาน มีการกำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน จากระดับสูงไปหาต่ำ
5. หลักของการแบ่งงานกันทำ
6. หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7. หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคล
8. หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9. หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการกระจายอำนาจด้วยบางส่วน
10. หลักของความมีระเบียบแบบแผน
11. หลักของความเสมอภาค
12. หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้าง
13. หลักของความคิดริเริ่ม
14. หลักของความสามัคคี


และเป็นเจ้าของแนวความคิดของการบริหารงานตามหน้าที่ โดยกระบวนการจัดการ 5 อย่าง หรือ POCCC
P Planing
O Organizing
C Commanding
C Coordinating
C Controlling

แนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และการแสวงหาหลักการบริหารนั้น ไปสอดคล้องกับแนวคิดของ
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวเยอรมัน ที่ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับองค์การขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบ (bureaucracy) หรือที่เรียกว่า "การจัดองค์การแบบระบบราชการ" ขึ้นในปี ค.ศ. 1911 อย่างไรก็ตาม ผลงานของเวเบอร์ ไม่ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและพิมพ์เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สาระสำคัญของทฤษฎีองค์การขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบ คือ ผู้ปกครองจะใช้อำนาจปกครองได้ก็ต่อเมื่อ อำนาจนั้นได้รับความยินยอมจากผู้ถูกปกครอง และเพื่อที่จะให้อำนาจการปกครองดำเนินไปได้ จึงจำเป็นจะต้องมีกลไกทางการบริหาร

ในปี ค.ศ. 1949 ทฤษฎีองค์การแบบระบบราชการของเวเบอร์ (Weber) ถูกโต้แย้งโดยข้อเสนอการบริหารแบบ "ระบบราชการที่ไม่เป็นทางการ" ขึ้น ซึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเป้าหมายขององค์การขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การในการควบคุมพฤติกรรม และขึ้นอยูู่กับลักษณะความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ ภายในองค์การนั้นๆ

ในปี ค.ศ. 1966 หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor) ก็ถูกโจมตีจากกลุ่มแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งให้ความสนใจต่อปัจจัยมนุษย์ตามแบบหลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ นักคิดกลุ่มนี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 เมื่อ
เอลตัน เมโย (Elton Mayo) และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งประกอบด้วย โรธลิสเบอร์เกอร์ (Roethlis berger) และ วิลเลียม ดิคสัน (William Dickson) ได้ทำการศึกษาที่โรงงานแห่งหนึ่งของ Western Electric Company ในเมืองฮอว์ธอร์น (Hawthorne) ใกล้กรุงชิคาโก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อม กับประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน ซึ่งปรากฎผลการวิจัยว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ทัศนคติ และพฤติกรรมกลุ่ม ต่างก็มีผลต่อประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน จึงเรียกการค้นพบครั้งนั้นว่า การทดลองที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne Experiments) ต่อมา ในปี ค.ศ. 1954 อับบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) นักจิตวิทยาที่ได้เสนอ "ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ" (hierarchy of needs) ของมนุษย์ขึ้น และในปี ค.ศ. 1957 คริส อาร์จิริส (Chris Argyris) เสนอแนวคิด "การเติบโตเป็นผู้ใหญ่" หรือ Mature Man เฟรดเดอริค เฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg) ได้เสนอ "ทฤษฎีจูงใจกับสุขวิทยา" (Motivator-Hygiene Theory) ในปี ค.ศ. 1959 และดักลาส แม๊คเกรเกอร์ (Douglas McGregor) นำเสนอ "Theory X-Theory Y" ในปี ค.ศ. 1960


โดย...วลัยพร ทองแท่ง